1. ตรวจเช็คแรงดัน ( Voltage),ความถ่วงจำเพาะ( Specific Gravity) หรือ ถ.พ. ของแต่ละเซลล์พร้อมตรวจวัดอุณหภูมิของแบตเตอรี่ 2. ตรวจเช็คระดับน้ำกรดของแต่ละเซลล์ 3. ตรวจเช็คบริเวณขั้วบวก,ขั้วลบ,Intercell Connector,ฝาครอบขั้ว-ครอบสะพานไฟ,สายไฟ,ปลั๊ก(Battery Connector),จุกปิดฝา(Vent Plug),ถังแบตเตอรี่ 4. ทำความสะอาดคราบน้ำกรด และคราบสกปรกอื่นๆ บริเวณฝา,เปลือกเซลล์และถังแบตเตอรี่ 5. เติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนด 6. ทา Grease บริเวณจุดต่อต่างๆ เพื่อป้องกัน Corrosion ![]() |
![]() 2. มีเศษโลหะหรือสารที่ไม่ต้องการตกลงในเซลล์แบตเตอรี่ 3. เติมน้ำกลั่นล้นหรือมากเกินไปจะทำให้ ค่าน้ำกรดเจือจางเป็นสาเหตุทำให้เก็บประจุไฟได้น้อยลง 4. ประจุไฟยังไม่เต็มแล้วนำเร่งแบตเตอรี่ไปใช้งาน 5. ปล่อยให้น้ำกลั่นแห้ง จะทำให้แผ่นธาตุร้อนไหม้จนแผ่นกั้นทะลุ 6. ใช้ไฟมากเกินกำหนดทำให้ประจุไฟเข้าใหม่ได้ยาก 7. ถ.พ.ของน้ำกรดสูงเกินไป จะปฎิกริยาเคมีทำให้เกิดความร้อนขึ้น 8. ประจุไฟให้แบตเตอรี่บ่อยครั้งเกินไป 9. แบตเตอรี่สกปรกเกิดซัลเฟตทำให้ไฟรั่วลงถังเหล็ก 10. การสั่นสะเทือนของแบตเตอรี่อย่างรุนแรง ทำให้แผ่นกั้นเกิดการเสียดสีและเป็นสาเหตุให้เกิดแผ่นธาตุบวก-ลบลัดวงจร |
1. ตรวจเช็คระดับของน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับอยู่เสมอ 2.ใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์เท่านั้น เติมลงในแบตเตอรี่ 3. บำรุงรักษาแบตเตอรี่ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า 4. สวมถุงมือและแว่นตา เพื่อความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงาน 5. ให้รีบประจุไฟให้กับแบตเตอรี่ทันทีเมื่อใช้งานแบตเตอรี่แล้วเสร็จ 6. เปิดจุกปิดฝาในขณะที่ประจุไฟ เพื่อระบายความร้อนและแก๊สได้ดียิ่งขึ้น 7. เมื่อประจุไฟเต็มแล้วก่อนนำออกใช้ควรทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีเพื่อให้อุณหภูมิลดลงก่อน 8. ปิดฝาครอบขั้วแบตเตอรี่ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการลัดวงจร 9. ตรวจเช็คอุปกรณ์ของแบตเตอรี่อยู่เสมอ หากชำรุดควรแก้ไขหรือแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ 10. ประจุไฟให้เต็มทุกครั้ง ก่อนนำไปใช้งาน (ถ.พ. 1.270-1.280) ![]() |
1. ใช้แบตเตอรี่เกินอัตราที่กำหนด ถ.พ. ต่ำกว่า 1.150 2. ประจุไฟเกิน (Over Charge) อัตราที่กำหนด 3. เติมน้ำกลั่นน้อยหรือมากเกินไป 4. ใช้เครื่องมือที่เป็นโลหะโดยไม่มีฉนวนหุ้ม 5. สูบบุหรี่ หรือทำให้เกิดประกายไฟใด ๆ ใกล้แบตเตอรี่ 6. เปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายแบตเตอรี่โดยไม่ระมัดระวังอาจเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานหรือตัวแบตเตอรี่ได้ ![]() |
![]() 2. ต้องชาร์จไฟหลังจากใช้งาน ไม่ควรปล่อยแบตเตอรี่ที่ไฟอ่อนไว้ โดยไม่ได้ชาร์จไฟ และการ อัดไฟมากเกินไป จะทำให้มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ 3. ควบคุมอุณหภูมิของน้ำกรดขณะชาร์จไม่ควรสูงเกิน 55 องศาเซลเซียส 4. รักษาระดับน้ำกรดให้พอดี น้ำกรดจะค่อยๆ ลดลงขณะใช้งาน ต้องเติมน้ำกลั่นทันทีถ้าระดับน้ำกรดลดลง 5. ขณะใช้งานแบตเตอรี่จะเกิดแก๊สไฮโดรเจน ระวังอย่าเข้าใกล้เปลวไฟ 6. รักษาแบตเตอรี่ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันไฟรั่วและผุกร่อน |
![]() 2. ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์ขับเคลื่อน 3. ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์พวงมาลัย 4. ให้กำลังไฟฟ้ากับระบบแสงสว่าง, สัญญาณต่าง ๆ และระบบควบคุม ( ควรใช้ DC to DC converter ) 5. เป็นน้ำหนักถ่วงในขณะยกของ ( Counterbalance ) |
Copyright © 2017 Bangkok Force